การถือสัญชาติไทยของหญิงต่างด้าว โดยการสมรส
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ฝ่ายกฎหมายและวินัย กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล การขอถือสัญชาติไทยตามสามี หญิงต่างชาติซึ่งได้จดทะเบียนสมรสกับสามีซึ่งเป็นคนไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย(กฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศก็ได้) หากต้องการมีสัญชาติไทยตามสามี มีเงื่อนไข ดังนี้ 1. จดทะเบียนสมรสกับสามีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย(หากจดทะเบียนสมรสกับสามีตามกฎหมายต่างประเทศ จะต้องไปจดทะเบียนรับรองฐานะแห่งครอบครัว ณ สำนักทะเบียนเขตหรืออำเภอก่อน) 2.หากยื่นคำขอเข้าถือสัญชาติไทยตามสามีในประเทศไทยต้องเดินทางเข้ามาในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย(มีหนังสือเดินทาง,ใบต่างด้าว หรือบัตรชนกลุ่มน้อย) 3. มีชื่อในทะเบียนบ้าน(ทร. 13 หรือ ทร. 14 ) 4 .สามีต้องประกอบอาชีพมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อเดือน หากเป็นข้าราชการสามีต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือนหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องและนำมาแสดง หลักฐานสำเนาใบสำคัญการสมรส ( แบบ คร .3) 1. สำเนาทะเบียนการสมรส ( แบบ คร .2 หรือ คร .4) (หากจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายต่างประเทศต้องจดทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว แล้วนำหลักฐานทะเบียนสมรสต่างประเทศและทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวมาแสดง) 2. กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นหญิงต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวให้ถ่ายภาพ หนังสือเดินทางหรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางทุกหน้าที่มีอักษร หรือตราประทับไว้ ( ให้ผู้ขอ เอาชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราว และนำสำเนาทะเบียนบ้านชั่วคราว(ทร. 13 ) ดังกล่าวมาแสดง ) 3. กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นหญิงต่างด้าวมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทยแล้ว ให้ถ่ายภาพใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหน้า 1 ถึงหน้า 6 และช่องรายการต่ออายุใบสำคัญฯ ครั้งสุดท้าย และสำเนาทะเบียนบ้าน (ทร. 14 ) 4 .รูปถ่ายของผู้ขอฯ กับสามี ขนาด 2 นิ้ว จำนวนคนละ 12 ภาพ 5 .เอกสารสำเนาสูติบัตรการเกิดของบุตรทุกคน พร้อมรูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว คนละ 2 ภาพ 6 .ถ้าสามีรับราชการ ให้นำหนังสือรับรองของผู้บังคับบัญชา ยืนยันว่าปัจจุบันยังคงรับราชการในตำแหน่ง สังกัดมาแสดง 7 .หนังสือรับรองการทำงาน ระบุตำแหน่ง หน้าที่การงาน และอัตราเงินเดือน 8 .ใบเสร็จรับเงินเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลปีที่ผ่านมา(แบบ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ 91 ) 9 .ให้นำเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าสามีเป็นบุคคลสัญชาติไทยมาแสดงดังนี้ 10 .สำเนาสูติบัตรการเกิด หรือทะเบียนคนเกิด หรือหนังสือรับรองสถานที่เกิด 11 .ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ องค์การรัฐวิสาหกิจแล้วแต่กรณี ให้ถ่ายทั้งสองด้านอย่างชัดเจน 12 .สำเนาใบสำคัญทหารกองหนุน หรือกองเกิน ( แบบ สด .1, สด .8, สด .9 หรือ สด .43 13 .สำเนาทะเบียนบ้านปัจจุบัน ( ให้ถ่ายอย่างชัดเจนทุกหน้า ) 14 .ภาพถ่ายหนังสือเดินทางของสามี ( ถ่ายทุกหน้าที่มีตราประทับ ) 15 .สำเนาหนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว , ชื่อสกุล ( หากมี ) 16 .ในกรณีที่บิดามารดาของสามีเป็นคนต่างด้าว ให้ถ่ายภาพใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ของบิดามารดา หน้า 1 ถึงหน้า 6 และหน้าต่ออายุครั้งสุดท้ายมาแสดง 13 .บิดามารดาของสามีผู้ขอเป็นบุคคลสัญชาติไทย ให้ถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหน้า – หลัง บิดามารดาสามีผู้ขอถึงแก่กรรม ให้ถ่ายใบมรณบัตร วิธีการยื่นคำขอเข้าถือสัญชาติไทยตามสามี 1.ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (งาน 2 ฝ่ายกฎหมายและวินัย กองบังคับการ อำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล เป็นผู้ดำเนินการ 2 .ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านซึ่งอยู่ในต่างจังหวัด ให้ยื่นคำขอต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด(หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด) ซึ่งผู้ร้อง ฯ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน 3 .ผู้อยู่ในต่างประเทศให้ยื่นคำขอเข้าถือสัญชาติไทยต่อพนักงานทูต ในประเทศนั้น
1 Comment
การจดทะเบียนสมรสกับชาวพม่า
จดทะเบียนสมรสระหว่างชายไทยกับหญิงสัญชาติพม่า วิธีการและขั้นตอนดำเนินการอย่างไรและต้องใช้เอกสารใดบ้างในการขอจดทะเบียนสมรสสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ ขอเรียนแนะนำตามประเด็นข้อซักถามของคุณ ดังต่อไปนี้ ๑. การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยในประเทศไทยระหว่างคนสัญชาติไทยกับคนต่างชาตินั้นสามารถกระทำได้หากชายและหญิงอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และจะต้องไม่มีคู่สมรสอยู่แล้วในขณะจดทะเบียนสมรส ทั้งนี้ ตามมาตรา ๑๔๔๘, ๑๔๔๙ และ ๑๔๕๒ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยคู่สมรสทั้งสองฝ่ายจะต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้ ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ (๑) บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางหรือหนังสือการอนุญาตให้เข้าเขตแดน (Visa) (๒) ใบรับรองความเป็นโสด หากเป็นภาษาอื่นที่มิใช่ภาษาไทยจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและได้รับการรับรองคำแปลจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องของประเทศนั้นๆ (๓) เอกสารการยินยอมให้ทำการสมรสจากบิดา มารดา ในกรณีที่เป็นผู้เยาว์ (๔) เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบเอกสารและคุณสมบัติของคู่สมรสว่าไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว นายทะเบียนจะทำการจดทะเบียนสมรสให้ โดยนายทะเบียนจะบันทึกข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายในเรื่องต่างๆ อาทิ การแบ่งทรัพย์สิน การใช้คำนำหน้าชื่อ หรือการใช้นามสกุลลงในด้านหลังของทะเบียนสมรสเอาไว้ด้วย อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนสมรสจะทำให้ทั้งสองฝ่ายมีสถานะเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายไทยเท่านั้น หากจะให้มีสถานะเป็นสามีภรรยาตามกฎหมายของประเทศคู่สมรสจะต้องไปจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ อีกครั้งหนึ่ง ๒. กรณีที่คุณได้ทราบมาว่าในปัจจุบันรัฐบาลพม่าจะไม่ออกหนังสือรับรองความเป็นโสดให้ คุณต้องการทราบว่าเป็นความจริงหรือไม่ จากการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง http://www.thaiembassy.org/yangon/th/services/ ได้ทราบว่ารัฐบาลพม่าจะไม่ออกหนังสือรับรองความเป็นโสดให้ เนื่องจากศาลสูงของพม่าได้มีคำสั่งลงวันที่ ๑ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๙๘ ห้ามมิให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของพม่าทำการจดทะเบียนสมรสระหว่างชาวต่างชาติกับผู้หญิงพม่าโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการค้าหญิงข้ามชาติ ผลที่เกิดขึ้นก็คือหน่วยราชการของพม่าจะไม่สามารถออกหนังสือรับรองความเป็นโสดให้แก่ผู้หญิงพม่าเพื่อนำไปใช้จดทะเบียนสมรสได้ หรือหากหน่วยงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองความเป็นโสดให้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ กระทรวงการต่างประเทศพม่าก็จะไม่รับรองคำแปลให้ ซึ่งก็จะไม่สามารถนำมาใช้ประกอบการขอจดทะเบียนสมรสได้เช่นกัน ๓. หากจดทะเบียนสมรสแล้วจะได้สัญชาติไทยตามสามีโดยอัตโนมัติเลยหรือไม่ หรือต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ได้สัญชาติไทย กรณีนี้หญิงสัญชาติพม่าแม้จะได้จดทะเบียนสมรสกับชายซึ่งมีสัญชาติไทยก็ไม่ทำให้ได้รับสัญชาติไทยตามสามีโดยอัตโนมัติ แต่มีสิทธิที่จะร้องขอสัญชาติไทยโดยการสมรสได้ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ที่บัญญัติว่า “หญิงซึ่งเป็นคนต่างด้าวและได้สมรสกับผู้มีสัญชาติไทย ถ้าประสงค์จะได้สัญชาติไทย ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง” ส่วนการจะอนุญาตตามคำร้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยสามารถดูข้อมูลการขอถือสัญชาติไทยตามสามีได้จากเว็บไซต์ของกองบัญชาการตำรวจสันติบาล http://www.sbpolice.go.th/page-service2.php ๔. กรณีที่ไม่สามารถขอจดทะเบียนสมรสได้ เนื่องจากติดปัญหาเรื่องหนังสือรับรองความเป็นโสด จะสามารถใช้วิธีอื่นได้หรือไม่ หรือจำเป็นต้องดำเนินการทางศาลหรือไม่ สฝคป. ขอแนะนำว่า หากไม่สามารถขอจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยในประเทศไทยได้ อาจพิจารณาไปดำเนินการขอจดทะเบียนสมรสยังประเทศพม่าภายใต้กฎหมายของพม่าหากดำเนินการได้แล้วนำหลักฐานการสมรสนั้นมาขอบันทึกสถานะแห่งครอบครัวที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอในประเทศไทยได้ ซึ่งการบันทึกสถานะแห่งครอบครัวนี้จะปรากฏสถานะของคุณว่าได้สมรสแล้ว การจดทะเบียนสมรสกับคนไทยในประเทศไทย จะต้องยื่นเรื่องขอใบรับรองโสด ณ แผนกกงสุล สถานทูตเกาหลีในประเทศไทยก่อนเอกสารที่ใช้ในการขอใบรับรองโสดสำหรับคนเกาหลี
1. แบบฟอร์มใบรับรองโสดของคนเกาหลี (รับที่สถานทูตหรือดาวน์โหลดได้ทางอินเทอร์เน็ต) 2. ใบแสดงความสัมพันธ์การสมรสและใบแสดงความสัมพันธ์ในครอบครัวของคนเกาหลี 3. สำเนาหนังสือเดินทางของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย 4. ใบแสดงความโสดของคนไทยฉบับจริงพร้อมสำเนา (ขอรับได้ที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ ณ ภูมิลำเนาเดิม) 5. กรณีมีผู้แนะนำโปรดเตรียมเอกสารสำเนาของหน้าสำเนาหนังสือเดินทางของผู้แนะนำแนบด้วย และกรณีคนไทยเคยสมรสแล้วหย่า กรุณาเตรียมใบรับรองโสดและใบหย่ามาด้วย (กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ)หลังจากที่ได้รับใบรับรองโสดที่ทางสถานทูตออกให้เป็นภาษาอังกฤษมาแล้ว ให้นำใบรับรองโสดนั้นไปแปลเป็นภาษาไทยและรับรองเอกสารที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ในประเทศไทย เอกสารที่ต้องใช้ในการรับรองเอกสาร 1. ใบรับรองโสด (ฉบับจริงภาษาอังกฤษและฉบับแปลภาษาไทย) และสำเนา 2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาพาสปอร์ตคนละ 1 ชุด สำนักงานเขตหรืออำเภอในประเทศไทย)นำใบรับรองโสดฉบับภาษาไทยที่ได้รับการรับรองจากกรมการกงสุลไปจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขต หรืออำเภอในประเทศไทยเพื่อขอใบทะเบียนสมรส เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนสมรส 1. คนเกาหลี-ใบรับรองโสดที่ได้รับการรับรองแล้วกับสำเนาหนังสือเดินทาง 2. คนไทย-บัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน (กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ) นำใบจดทะเบียนสมรสที่ได้รับจากสำนักงานเขตหรืออำเภอในประเทศไทยไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ และนำไปรับรอง เอกสารที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส 1. ใบทะเบียนสมรส (ฉบับจริงภาษาไทยและฉบับแปลภาษาอังกฤษ) และสำเนา 2. สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายคนละ 1 ชุด (แผนกกงสุล สถานทูตเกาหลีในประเทศไทย) นำสำเนาใบทะเบียนสมรสที่ได้รับการรับรองจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ มารับรองที่แผนกกงสุล สถานทูตเกาหลีในประเทศไทยอีกครั้ง เอกสารที่ต้องใช้ในการรับรองเอกสาร 1. สำเนาใบทะเบียนสมรสที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศและสำเนา 2. สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายคนละ 1 ชุด (สำนักงานเขตในประเทศเกาหลี) นำใบทะเบียนสมรสตัวจริง, สำเนาใบทะเบียนสมรสที่ได้รับการรับรองแล้ว, ใบทะเบียนสมรสฉบับแปลภาษาอังกฤษ, สำเนาพาสปอร์ตของคนไทยไปยื่นแจ้งจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขตในประเทศเกาหลี - โปรดสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สำนักงานเขตในประเทศเกาหลีที่ต้องการจะไปแจ้งจดทะเบียนสมรส - ผู้ที่ต้องการจะยื่นวีซ่าสมรสจะต้องจดทะเบียนสมรสทั้ง 2 ประเทศ ให้เรียบร้อยก่อนถึงจะสามารถยื่นเรื่องขอวีซ่าสมรสในประเทศไทยได้ สอบถามข้อมูลการรับรองเอกสารที่กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ เบอร์โทรศัพท์ 0 2575-1058/61 ***กรณีที่ต้องการยื่นจดทะเบียนในประเทศเกาหลี ผ่านทางสถานทูตเกาหลีในประเทศไทย เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นจดทะเบียน 1. แบบฟอร์มแจ้งจดทะเบียนสมรส 2. ใบสมรสไทยตัวจริงพร้อมใบที่แปลเป็นภาษาเกาหลีแล้ว 3. หนังสือเดินทางตัวจริงพร้อมสำเนา *ต้องมาจดทะเบียนด้วยตัวเองทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง **ใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 1-2 เดือน ทั้งนี้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 2247-7540/41 (ต่อ 332) การจดทะเบียนสมรสระหว่างคนไทยและเกาหลี ณ กรุงโซล ชาวไทยสามารถจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยได้ที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงโซล โดยผู้ที่จะจดทะเบียนสมรสต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1.1 อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปสามารถดำเนินการด้วยตนเอง หากอายุต่ำกว่า 20 ปี แต่มากกว่า 17 ปีบริบูรณ์ ต้องนำบิดา/มารดาหรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอม หรือต้องมีหนังสือให้ความยินยอมจากบุคคลทั้งสามดังกล่าวข้างต้น แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 17 ปี ต้องได้รับอนุญาตจากศาลจึงสมรสได้ 1.2 ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ 1.3 ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น 1.4 ไม่เป็นพี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน หรือร่วมแต่พ่อหรือแม่ 1.5 ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้ 1.6 หญิงที่สามีเสียชีวิตหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะจดทะเบียนสมรสใหม่ได้หลังจากที่หย่าแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน นอกจาก - คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น - จดทะเบียนสมรสกับบุคคลเดิม - มีใบรับรองแพทย์ยืนยันว่าไม่ตั้งครรภ์ - ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้ ผู้ที่ต้องการจดทะเบียนสมรส คู่สมรสจะต้องมาดำเนินการที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เอง (ทั้งฝ่ายชายและหญิง) 2 ครั้ง โดยครั้งแรกคือวันมายื่นเรื่อง ครั้งที่สองคือวันมารับทะเบียนสมรส เอกสารประกอบการยื่นขอจดทะเบียน 1. หนังสือรับรองความเป็นโสด (อายุไม่เกิน 6 เดือน) และสำเนา 1 ใบ 2. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ 3. บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง และสำเนา 1 ใบ 4. คำร้องขอจดทะเบียนสมรส 5. ใบสำคัญการหย่า (กรณีเคยจดทะเบียนสมรสและได้จดทะเบียนหย่าแล้ว) หมายเหตุ : 1. หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนเกาหลี นอกจากบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางแล้ว ต้องยื่นทะเบียนครอบครัว (คาจกควันเกจึงเพียงซอ) และบันทึกฐานะแห่งครอบครัว (โฮอินควันเกจึงเพียงซอ) พร้อมคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศและการค้าเกาหลี 2. ผู้ที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเกาหลีแล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยอีก (ทางการไทยยอมรับทะเบียนสมรสที่จดถูกต้องตามกฎหมายเกาหลี) แต่ควรที่จะทำเรื่องขอปรับปรุงรายละเอียดในฐานข้อมูลของเขต/อำเภอ เพื่อให้ทางการทราบว่าตนเองได้แต่งงานแล้ว ทางอำเภอจะบันทึกในเอกสารที่เรียกว่าบันทึกฐานะแห่งครอบครัว การขอวีซ่าแต่งงานระหว่างคนไทยและคนเกาหลี ขั้นตอนในการขอวีซ่าและเอกสารที่ต้องใช้ในการขอวีซ่าแต่งงานระหว่างคนไทยและคนเกาหลี มีดังต่อไปนี้ เอกสารที่ใช้ในการขอวีซ่า 1. แบบฟอร์มขอวีซ่า (สามารถรับได้ที่สถานทูตหรือดาวน์โหลดได้ทางอินเทอร์เน็ต) 2. แบบสอบถามข้อมูลการแต่งงานเบื้องต้นเพื่อใช้ในการสัมภาษณ์กับท่านกงสุล (สามารถรับได้ที่สถานทูตหรือดาวน์โหลดได้ทางอินเทอร์เน็ต) 3. ใบแสดงความสัมพันธ์การสมรสและใบแสดงความสัมพันธ์ในครอบครัว (เอกสารตัวจริงที่ออกภายใน 3 เดือนก่อนยื่นขอวีซ่า) 4. ใบสำคัญการสมรสที่ได้รับจากที่ว่าการอำเภอไทยและต้องนำไปรับรองสำเนาถูกต้องที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ 5. รูปถ่ายคนไทย 2 นิ้ว 1 รูป 6. สำเนาหนังสือเดินทางของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายคนละ 1 ชุด - ในกรณีที่คนไทยมีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล ต้องเตรียมสำเนาใบเปลี่ยนชื่อที่ได้รับการรับรองจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศมาด้วย - ในกรณีที่คนไทยแต่งงานใหม่ต้องเตรียมใบรับรองความโสดและใบหย่ามาด้วย 7. หนังสือรับรองการทำงานของคนเกาหลีและสำเนาใบจดทะเบียนบริษัท 8. เอกสารแสดงรายการทรัพย์สินของคนเกาหลี (เช่น สัญญาเช่าบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้าน) 9. ในกรณีที่มีคนแนะนำให้รู้จักกัน: สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและเบอร์โทรศัพท์ของคนแนะนำ - ในกรณีที่คนแนะนำเป็นคนเกาหลี: สำเนาหนังสือเดินทางหรือสำเนาบัตรประชาชน ด้านหน้าและหลัง 1 ชุด - ในกรณีที่คนไทยที่แต่งงานกับคนเกาหลีเป็นคนแนะนำ: สำเนาบัตรประจำตัวคนต่างด้าวของคนไทยที่แต่งงานกับคนเกาหลี 1 ชุด 10. ใบรับรองการเข้ารับการอบรมโปรแกรมการแต่งงานระหว่างประเทศ (สามารถเข้าไปลงชื่อจองล่วงหน้าได้ที่เว็บไซต์ www.hikorea.go.kr และเดินทางเข้าไปอบรมตามวันเวลาที่จองไว้ล่วงหน้า 11. หนังสือเชิญ (สามารถรับแบบฟอร์มได้ที่สถานทูตหรือดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ทางอินเทอร์เน็ต) 12. หนังสือรับรองบุคคล (สามารถรับแบบฟอร์มได้ที่สถานทูตหรือดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ทางอินเทอร์เน็ต) 13. แบบสอบถามข้อมูลสินเชื่อของคนเกาหลี (ออกโดยธนาคารแห่งชาติเกาหลี หรือสามารถพิมพ์แบบสอบถามได้ที่ www.credit4u.co.kr) 14. ใบประวัติอาชญากรรมของทั้งคนไทยและคนเกาหลี 15. ใบตรวจสุขภาพของทั้งคนไทยและคนเกาหลี (ระบุโรคเอดส์ กามโรค และสุขภาพจิต) 16. ใบประวัติการขอหนังสือเดินทางของคนไทย (สามารถขอได้ที่แผนกหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล) ระยะเวลาในการขอวีซ่า วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-10.30 น. (หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์) ระยะเวลาในการสัมภาษณ์ วันอังคารและวันพฤหัสบดี เวลา 13.30-15.30 น. (หยุดตามวันหยุดราชการ) และนัดสัมภาษณ์หลังจากวันยื่นเอกสาร 1 อาทิตย์ *ตอนยื่นเอกสาร สามีหรือภรรยาสามารถมายื่นเอกสารคนเดียวได้ แต่ในวันสัมภาษณ์นั้นต้องมาสัมภาษณ์ทั้ง 2 คน การจดทะเบียนสมรสกับชาวอินเดีย
เอกสารประกอบการจดทะเบียน 1 กรอกรายละเอียดในคำร้องขอจดทะเบียนสมรส และลงชื่อทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย 2 หนังสือเดินทางที่ไม่หมดอายุของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย 3 บัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย 4 ในกรณีที่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนและหย่าแล้ว ต้องมีสำเนาทะเบียนหย่ามาแสดงด้วย 5 ในวันจดทะเบียนสมรสต้องนำพยานไปด้วย 2 คน พยานต้องนำหนังสือเดินทาง และบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านไปด้วย 6 ใบรับรองความเป็นโสดของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวต้องได้รับการรับรองลายมือชื่อจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจลงนามในเอกสารมาก่อนทั้งจากไทยและอินเดีย หมายเหตุ : การจดทะเบียนสมรสที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบมีผลสมบูรณ์ ตามกฏหมายไทยแต่ไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอินเดียหากประสงค์จะให้การจดทะเบียนสมรสมีผลทางกฏหมายทางอินเดีย กรุณาติดต่อทางการอินเดียในแต่ละรัฐเพื่อขอทราบรายละเอียด บุคคลสัญชาติอินเดียต้องขอใบรับรองโสดมาจากอำเภอ หรือ เขต ถ้าเจ้าตัวไม่ได้พำนักอยู่ในประเทศอินเดีย ณ ขณะนั้น สามีให้บิดา มารดา กระทำการแทนได้ ส่วนเอกสารจะได้ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับกระบวนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ ฝ่ายคู่สมรสชาวไทย ไม่ต้องเตรียมใบโสด ให้เตรียมเพียงสำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนตัวจริง เพื่อใช้ในการจดทะเบียนสมรส ล่าม และพยานที่เป็นญาติกัน (บางสำนักงานเขตอนุโลมใครเป็นพยานก็ได้) คุณสมบัติ
- ชายและหญิงมีอายุ 17 ปี บริบูรณ์ - ชายหรือหญิงไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ - ชายหญิงไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมาดารเดียวกัน - ผู้รับบุตรบุญธรรมจะทำการสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้ - ชายหรือหญิงจะทำการสมรถในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้ -หญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อย กว่า 310 วัน เว้นแต่คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น หรือสมรสกับคู่สมรสเดิม หรือมีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือ ปริญญา ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมา ยว่ามิได้มีครรภ์ หรือมีคำสั่งศาลให้สมรสได้ หลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง - บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดิมทาง - หนังสือให้ความยินยอม(กรณีผู้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้ม ีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย) - คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ให้จดทะเบียน (ตรงนี้งง อยู่นานว่าทำไมต้องมีด้วย ในกรณี เป็นผู้เยาว์ ค่ะ ต้องมี แต่เกิน 18 ปีแล้วไม่ต้องมีนะค่ะ ไม่ต้องไปขอ) - พยานอย่างน้อย 2 คน จดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทย ขั้นตอน - ให้คนต่างชาติ ไปขอใบรับรองความเป็นโสด ที่สถานทูตชาติของตนในไทย บางสถานทูตไม่มีสิทธิ์ออกให้ ต้องติดต่อ สำนักงานเขต ในประเทศของตน - นำเอกสารดังกล่าวไปแปลเป็นภาษาไทย - นำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกร โดยนำเอกสารต้นฉบับ(ภาษาต่างประเทศ)และฉบับที่แปลแล้ว(ภาษาไทย) หนังสือเดินทางของชาวต่างชาติ - นำไปจดทะเบียนที่ อำเภอหรือเขต เอกสารประกอบการยื่นสำหรับคนเวียดนาม - หนังสือเดินทาง หรือหนังสือการอนุญาตให้เข้าเขตแดนของประเทศใดประเทศหนึ่ง (visa) ประเภทเพื่อการท่องเที่ยวหรือประกอบกิจการด้านธุรกิจ - หนังสือรับรองสถานภาพของบุคคลจากสถานทูต หรือสถานกงสุล โดยระ บุเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลนั้นที่เหมาะสมที่จะสมรสกับคนไทย ระบุอาชีพ, รายได้, ภาวะทางการสมรส และระบุชื่อบุคคลทางราชการ ที่สามารถติดต่อและขอทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้ จำนวน 2 คน ซึ่งมีที่อยู่เดียวกับผู้ร้อง โดยนำหนังสือรับรองดังกล่าว แปลเป็นภาษาไทย รับรองคำแปลโดยสถานทูตของประเทศของบุคคลนั้น หรือกระทรวงการต่างประเทศไทย การสมรสระหว่างคนไทยกับเวียดนาม การขอจดทะเบียนสมรสผู้ที่จะทำการสมรสจะต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เนื่องจากคู่สมรสต้องลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน และพยาน 2 คน โดยจะต้องเตรียมเอกสารของผู้ร้องทั้งสองฝ่ายตามที่ระบุดังต่อไปนี้มาให้ครบถ้วน เอกสารของบุคคลสัญชาติไทย 1. คำร้องขอจดทะเบียนสมรส 2. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด 3. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด 4. หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด 5. ใบรับรองความเป็นโสดซึ่งออกโดยที่ว่าการเขต/อำเภอไทยไม่เกิน 6 เดือน กรณี ที่เคยทำการสมรสและเคยหย่าจะต้องมี หนังสือรับรอง (ออกโดยที่ว่าการเขต/อำเภอไม่เกิน 6 เดือน) ว่าไม่เคยทำการสมรสกับผู้ใดภายหลังจากการหย่ามาแสดงด้วย 6. หากเคยสมรสมาก่อน ต้องนำใบสำคัญการหย่าตัวจริง หรือใบทะเบียนฐานะครอบครัวหย่า พร้อมสำเนา 1 ชุดมาแสดง กรณี ที่เป็นหญิงไทย และหย่ายังไม่ถึง 310 วัน จะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์มาแสดง เอกสารของบุคคลสัญชาติเวียดนาม 1. หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด 2. บัตรประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด 3. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด 4. ใบรับรองความเป็นโสดซึ่งออกโดยหน่วยงานท้องถิ่นไม่เกิน 6 เดือน หมายเหตุ - เอกสารทางการภาษาเวียดนามให้แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย Notary Public และรับรองที่กรมสัมพันธ์ต่างประเทศ นครโฮจิมินห์ (ที่อยู่ 6 Alexandre de Rhodes, District 1, HCMC) - ในบางกรณีสถานกงสุลใหญ่ฯ อาจเรีัยกขอเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติม เอกสารที่จะต้องเตรียมสำหรับบุคคลสัญชาติไทยที่ประสงค์จะแต่งงานกับชาวลาว
I. เอกสารของฝ่ายไทย (ฝ่ายคนไทยต้องเตรียมเอกสารข้อ 1-5 ตามด้านล่างนี้ก่อน) 1. หนังสือรับรองความเป็นโสด หรือใบหย่าจากอำเภอ 2. หนังสือรับรองประวัติอาชญากรรมจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (อาคาร 24) เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 3. ใบรับรองแพทย์ (ออกให้โดยโรงพยาบาลและมีตราประทับรับรอง) 4. สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน และหนังสือเดินทาง 5. ใบรับรองส่งตัวผู้หญิงกลับบ้าน ถ้าหากกรณีมีการหย่าร้าง (อาจเขียนขึ้นเองหรือทำที่อำเภอก็ได้) แล้วลงนามรับรองโดยผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ปกครอง หมายเหตุ-เอกสารทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจะต้องผ่านการแปลเป็นภาษาอังกฤษและรับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ตั้งอยู่ที่ถนนแจ้งวัฒนะ เสียก่อน แล้วจึงนำไปแนบกับเอกสารของฝ่ายผู้หญิงลาว หรือผู้ชายลาว เพื่อไปดำเนินการต่อที่ ส.ป.ป. ลาว II. เอกสารของฝ่ายคนลาว 1. หนังสือรับรองความเป็นโสด หรือใบหย่า ออกให้โดยผู้ใหญ่บ้านที่ตนอยู่ 2. ใบรับรองถิ่นที่อยู่ สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาหนังสือเดินทาง 3. ใบอนุญาตจากผู้ปกครอง 4. ใบแจ้งโทษเลขที่ 3 ออกให้โดยศาลแขวง หรือจังหวัดที่ตนอยู่ 5. ใบตรวจสุขภาพ ออกให้โดยโรงพยาบาลแขวง หรือจังหวัดที่ตนอยู่ 6. บทสัมภาษณ์จากตำรวจเมือง และตำรวจแขวงที่ตนอยู่ หมายเหตุ-เอกสารทั้งหมดนี้ต้องผ่านการประทับตรารับรองจากกรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศที่เวียงจันทน์เสียก่อน ข้อมูลเพิ่มเติม 1. ถ้ามีความประสงค์จะจดทะเบียนสมรสที่ประเทศลาว เอกสารต้องได้ผ่านตามขั้นตอนในข้อ I และ II เสียก่อน สำหรับเอกสารของฝ่ายคนไทยต้องนำไปยื่นขอรับรองจากสถานทูตไทยที่นครหลวงเวียงจันทน์หรือสถานกงสุลไทยที่แขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว จากนั้นจึงนำเอกสารไปรับรองที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศที่นครหลวงเวียงจันทน์เสียก่อน แล้วจึงนำไปจดทะเบียนที่สำนักงานปกครองแขวงที่ตนอยู่ 2. ถ้ามีความประสงค์จะจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย จะต้องมีเอกสารตามข้อ I และ II แต่เอกสารของฝ่ายคนลาวต้องผ่านการแปลรับรองจากสถานทูตลาวที่กรุงเทพฯ แล้วจึงนำไปรับรองที่แผนกกงสุล กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ที่หลักสี่ แจ้งวัฒนะ จากนั้นจึงนำไปจดทะเบียนสมรสที่เขตหรืออำเภอได้ 3. เมื่อจดทะเบียนสมรสเรียบร้อยแล้ว ให้นำใบทะเบียนสมรสไปรับรองที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ หลักสี่ แจ้งวัฒนะ เสียก่อน จึงนำมารับรองที่สถานทูตลาวประจำประเทศไทย พร้อมด้วยรูปถ่ายขนาด 1 หรือ 2 นิ้วของฝ่ายที่เป็นคนลาว จำนวน 2 แผ่น คู่สมรสฝ่ายสัญชาติเยอรมันจะต้องนำ “หนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้” ในประเทศไทย (เรียกเป็นภาษา เยอรมันว่า Ehefähigkeitszeugnis)ซึ่งมีอายุไม่เกิน6เดือนมาแสดงที่สถานทูตฯเพื่อขอให้สถานทูตฯออก“หนังสือรับรอง” (Konsularbescheinigung) และนำไปแสดงต่อนายทะเบียนของไทย ณ สำนักงานเขต/ที่ว่าการอำเภอ ที่คู่สมรสทั้งสองประสงค์จะจดทะเบียนสมรสกัน ตามกฎหมายไทยจะยื่นขอจดทะเบียนสมรสที่สำนักทะเบียนของเขตหรืออำเภอใดก็ได้โดยมิต้องนัดหมายล่วงหน้า แต่ทั้งนี้สำนักทะเบียนแต่ละแห่งอาจจะจำกัดจำนวนคู่สมรสที่สามารถจดทะเบียนให้ได้ในแต่ละวันไว้ เช่น สำนักงานเขตบางรัก เป็นต้น เมื่อมีผู้ยื่นความประสงค์จะจดทะเบียนสมรสครบจำนวนคู่ตามที่กำหนด สำนักทะเบียนก็ไม่สามารถรับดำเนินการจดทะเบียนสมรสให้ได้อีก
ขั้นตอนในการขอ “หนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้” คู่สมรสฝ่ายสัญชาติเยอรมันจะต้องยื่นคำร้องขอหนังสือดังกล่าวต่อทางสำนักทะเบียนที่ตนมีถิ่นพำนักสังกัดในประเทศเยอรมัน ในกรณีที่ไม่มีถิ่นพำนักในประเทศเยอรมันต้องยื่นคำร้องขอไปยังสำนักทะเบียนเยอรมันที่ผู้ร้องเคยแจ้งพำนักอยู่เป็นครั้งสุดท้าย แบบฟอร์มคำร้องขอรับได้ที่สถานทูต สำนักทะเบียนเยอรมัน หรือจากเว็บไซต์ www.berlin.de/standesamt1/partnerschaft ทั้งนี้ในการยื่นคำร้องคู่สมรสฝ่ายสัญชาติเยอรมันจะต้องแสดงเอกสารของคู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทยต่อนายทะเบียนเยอรมันด้วย เพราะนายทะเบียนจะต้องตรวจสอบว่าคู่สมรสทั้งสองมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายเยอรมันที่จะจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่ เอกสารของคู่สมรสฝ่ายสัญชาติเยอรมันมีดังนี้ -หนังสือเดินทาง หรือ บัตรประชาชน -ใบรับรองถิ่นพำนักในประเทศเยอรมัน หรือ ใบแจ้งย้ายสำมะโนครัวออกจากประเทศเยอรมัน -สูติบัตร -คำพิพากษาหย่าที่มีตราประทับรับรองว่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย หรือ มรณบัตรของคู่สมรสเดิม เอกสารของคู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทยมีดังนี้ -หนังสือเดินทาง หรือ บัตรประชาชน -ติบัตร หรือ หนังสือรับรองการเกิดที่มีรายละเอียดครบถ้วนเช่นเดียวกับสูติบัตร -สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (ต้นฉบับหรือสำเนาที่รับรองความถูกต้องแล้ว) -คำร้องเกี่ยวกับงานทะเบียนครอบครัวจากสำนักทะเบียนกลาง ที่แจ้งผลการตรวจสอบข้อมูลการสมรส-การหย่า เอกสารเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีสถานภาพโสด -หนังสือรับรองสถานภาพที่ระบุว่าเป็นบุคคลที่ไม่เคยจดทะเบียนสมรสกับผู้ใด เอกสารเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีสถานภาพหม้าย -หนังสือรับรองสถานภาพที่ระบุว่าหลังจากที่คู่สมรสเสียชีวิตแล้ว ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก ** -ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก (คร. 2) และ/หรือใบสำคัญการสมรส -ใบมรณะบัตรของคู่สมรส เอกสารเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีสถานภาพหย่า -หนังสือรับรองสถานภาพที่ระบุว่าหลังจากหย่าจากคู่สมรสเดิมแล้วยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก ** -ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก (คร. 2) กับคู่สมรสเดิม -ทะเบียนการหย่า พร้อมบันทึก (คร. 6) กับคู่สมรสเดิม -ใบสำคัญการหย่า (คร. 7) -คำพิพากษาของศาลเรื่องหย่า และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด (เฉพาะผู้ร้องที่หย่าตามคำพิพากษาของศาลเท่านั้น) ในบางกรณี อาจต้องแสดงหนังสือรับรองการหย่าจากหน่วยงานยุติธรรมในประเทศเยอรมนี ว่าการหย่าของไทยเป็นที่ยอมรับของเยอรมันแล้วเช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่หย่าโดยความสมัครใจ ณ สำนักทะเบียนเขตหรืออำเภอในประเทศไทย แบบฟอร์มคำร้องขอให้รับรองการหย่า ขอได้ที่สถานทูตฯ สำนักทะเบียนเยอรมัน หรือจาก www.berlin.de/sen/justiz/struktur/a2_ausl_scheidg_hinw.html ข้อมูลเรื่องการรับรองการหย่านี้ ดูได้จากแผ่นคำแนะนำของสถานทูตฯ (เป็นภาษาเยอรมันเท่านั้นไม่มีภาษาไทย) * หมายเหตุ เอกสารที่ระบุไว้ในที่นี้ไม่อาจถือเป็นสิ้นสุดได้ ทั้งนี้เพราะนายทะเบียนเยอรมันมีสิทธิ์ที่จะเรียกเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติมได้อีก สถานทูตฯ จึงใคร่ขอแนะนำให้ผู้ร้องสอบถามจากนายทะเบียนเยอรมันโดยตรง เพื่อให้แน่ใจว่าเตรียมเอกสารได้ครบถ้วน ** หมายเหตุ หนังสือรับรองสถานภาพออกโดยสำนักงานเขตหรืออำเภอที่ผู้ร้องแจ้งพำนัก และต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ เอกสารของคู่สมรสสัญชาติไทย ติดต่อขอได้จากสำนักทะเบียนในสังกัด สถานทูตฯ ไม่มีหน้าที่ช่วยจัดหาเอกสารให้ ในการยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนเยอรมัน ท่านจะต้องแนบเอกสารพร้อมคำแปลภาษาเยอรมันด้วย และโดยปกติเอกสารต้นฉบับภาษาไทย จะต้องผ่านการรับรองความถูกต้อง (Legalisationsvermerk) หรือรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง (Echtheitsvermerk) จากสถานทูตก่อน ในการขอให้สถานทูตฯ รับรองเอกสารทั้ง 2 แบบนี้ ท่านไม่จำเป็นต้องแสดงคำแปลต่อทางสถานทูตฯ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องแสดงเอกสารต่อนายทะเบียนเยอรมัน ท่านจะต้องแนบคำแปลภาษาเยอรมันไปด้วยเสมอ เอกสารที่คู่สมรสชาวอเมริกันต้องเตรียมมาเพื่อจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทย
- ใบเกิด - พาสปอร์ต - ใบสำคัญแสดงการหย่า (ในกรณีที่เคยแต่งงานมาก่อน) - ใบรับรองโสด - บัตรประจำตัวประชาชน - สำเนาทะเบียนบ้าน คู่สมรสชาวอเมริกันต้องไปขอหนังสือรับรองความเป็นโสด และใบสำคัญแสดงการหย่า (ในกรณีที่เคยแต่งงานมาก่อน) จากสถานทูตหรือสถานกงสุลอเมริกาในไทย ค่าธรรมเนียม - หนังสือรับรองความเป็นโสด $30 - ใบสำคัญแสดงการหย่า (ในกรณีที่เคยแต่งงานมาก่อน) $20 จดทะเบียนสมรสกับชาวออสเตรเลียในประเทศไทย
เอกสารที่ต้องเตรียม :ออสเตรเลีย 1.ใบรับรองโสดของชาวออสเตรเลีย 2.สำเนา Passport ถ่ายหน้าแรกกับหน้าที่บันทึกการเดินทางครั้งหลังสุด ฝ่ายไทย -บัตรประชาชนตัวจริงพร้อมสำเนา -สำเนาทะเบียนบ้าน *พยาน* บริการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ/ Marriage Registration
บริการรับจดทะเบียนสมรสสำหรับท่านที่ต้องการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ บริษัทให้บริการทุกขั้นตอน รวมถึงการจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง แปลเอกสารใบโสด พร้อมประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ ทุกขั้นตอน สะดวก รวดเร็ว ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์ ขั้นตอนการจดทะเบียนมีดังต่อไปนี้ 1.นำใบโสดไปแปลเป็นภาษาไทยเพื่อและนำไปรับรองตราประทับจากกระทรวงการต่างประเทศ 2.บริษัทรับใบโสดที่ได้รับการรับรองตราประทับจากกระทรวงการต่างประเทศเรียบร้อยแล้ว พร้อมพาลูกค้าไปจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอ 4.เมื่อจดทะเบียนสมรสเรียบร้อยแล้ว บริษัทนำใบทะเบียนสมสร ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อไปรับการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศอีกครั้ง 5.นำทะเบียนสมรส ที่ได้รับการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศส่งคืนลูกค้า เพื่อให้คุณลูกค้านำไปยื่นขอวีซ่า หรือ ทำนิติกรรมต่างๆต่อไป ทางบริษัทจะดูเลตลอดระยะเวลาการดำเนินการจดทะเบียนสมรส |